เครื่องปรับอากาศ
ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 25-27 องศาเซลเซียส ไม่ควรตั้งอุณหภูมิให้ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส การตั้งอุณหภูมิให้สูงขึ้นทำให้ประหยัดค่าไฟ การตั้งอุณหภูมิสูงขึ้น 1 องศาทำให้ประหยัดได้ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์
- กำหนดเวลาการเปิดปิดที่เหมาะสมเพื่อควบคุมเวลาการใช้งานเท่าที่จำเป็น
- ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าและหลอดไฟที่ไม่จำเป็นเพื่อลดปริมาณความร้อนภายในห้องปรับอากาศ
- ทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศเป็นประจำทุกเดือน
- ล้างทำความสะอาดและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยปีละ 2 ครั้งเครื่องปรับอากาศ 6 เดือนครั้ง
- ปิดเครื่องปรับอากาศเมื่อไม่ใช้งานทันทีเช่นห้องที่ไม่ใช้งาน 1 ชั่วโมงก็ควรปิดเครื่องปรับอากาศ หรือปิดเครื่องปรับอากาศก่อนกลับครึ่งชั่วโมง
- ปิดประตูและหน้าต่างให้สนิทเพื่อป้องกันลมเย็นรั่วออกจากบริเวณปรับอากาศ
เปลี่ยนเป็นเครื่องปรับอากาศประสิทธิภาพสูงหรือที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 เครื่องปรับอากาศเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานไฟฟ้ามากและมีราคาแพงเพื่อลดการใช้ไฟฟ้าที่สูญเสียไปโดยไม่จำเป็นจึงแนะนำให้เลือกขนาดของเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมกับห้องที่จะติดตั้งควรทราบขนาดของห้องเสียก่อนเพื่อให้ได้ความเย็นที่เหมาะสมแต่ถ้าซื้อเครื่องปรับอากาศที่มีขนาดใหญ่เกินไปความเย็นมากเกินไปราคาของเครื่อง ค่าติดตั้งค่าไฟฟ้าก็จะแพงขึ้นไปด้วยหาซื้อเครื่องปรับอากาศขนาดเล็กเกินไปความเย็นก็จะไม่เพียงพอและเครื่องต้องเดินตลอดเวลาทำให้เสียค่าไฟฟ้ามากเกินไม่จำเป็นอายุการใช้งานจะสั้นดังนั้นจึงควรเลือกเครื่องปรับอากาศที่สามารถทำความเย็นให้เหมาะสมกับพื้นที่ห้อง
พัดลม
พัดลมกินไฟน้อยกว่าเครื่องปรับอากาศมาก พัดลมติดเพดานแบบธรรมดากินไฟประมาณ 70 ถึง 100 วัตต์ ถ้าใช้นาน 12 ชั่วโมงจะใช้ไฟประมาณ 1 หน่วย ส่วนพัดลมตั้งพื้นและตั้งโต๊ะหักเหลือใช้ทั้งวันทั้งคืนจะกินไฟเพียง 1 หน่วยเท่านั้น คือกินไฟประมาณ 25 ถึง 75 วัตต์ และเมื่อเลิกใช้แล้วควรปิดพัดลมพร้อมกับดึงปลั๊กออกด้วยเพื่อความปลอดภัยยิ่งขึ้น
การใช้พัดลมควรกำหนดเวลาการเปิดปิดที่เหมาะสมเพื่อควบคุมการใช้งานเท่าที่จำเป็น ปิดสวิตช์ทันทีที่ไม่ใช้งานช่วงเวลาพักกลางวันหรือเมื่อเลิกประชุม
การใช้งานคอมพิวเตอร์
ควรปิดหน้าจอคอมพิวเตอร์เมื่อไม่มีการใช้งานนานเกิน 15 นาทีหรือตั้งค่าให้คอมพิวเตอร์อยู่ในโหมดประหยัดไฟฟ้า ติดตั้งระบบ Sleep หรือการพักเครื่องของคอมพิวเตอร์ และปิดเครื่องถอดปลั๊กเสมอเมื่อเลิกใช้งาน
การใช้งานโทรทัศน์
ควรเลือกใช้โทรทัศน์ที่ขนาดและการใช้กำลังไฟฟ้า โทรทัศน์ที่มีขนาดใหญ่ยิ่งกินไฟมากขึ้น อย่าเสียบปลั๊กโทรทัศน์ทิ้งไว้ให้เปลืองไฟและอาจเกิดอันตรายขณะฟ้าผ่าได้ ปิดและถอดปลั๊กทันทีเมื่อไม่มีคนดู หากชมโทรทัศน์ช่องเดียวกันควรดูด้วยกันประหยัดตั้งค่าไฟและอบอุ่นใจที่ได้อยู่ด้วยกัน ไม่ควรเปิดดูโทรทัศน์ล่วงหน้าเพื่อรอดูรายการที่ชื่นชอบควรเปิดดูรายการนั้นๆเมื่อถึงเวลาออกอากาศ และไม่ควรปรับจอภาพไม่สว่างมากเกินไป การเปลี่ยนช่องบ่อยๆจะทำให้เครื่องโทรทัศน์กินไฟมากขึ้น
การใช้งานเครื่องเสียง
การใช้งานเครื่องเสียงให้เปิดใช้เมื่อต้องการใช้งานและปิดทันทีเมื่อเลิกใช้ ควรถอดปลั๊กหลังเลิกใช้งานทุกครั้ง และเปิดระดับเสียงให้พอเหมาะกับการใช้งาน เพราะยิ่งเปิดดังก็จะยิ่งกินไฟมาก
การใช้งานตู้เย็น
ตู้เย็นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นต้องเสียบปลั๊กอยู่ตลอดเวลาเพื่อรักษาความเย็นของอาหารภายในตู้เย็นจึงกินไฟมากพอสมควร การใช้ตู้เย็นประตูเดียวจะประหยัดไฟมากกว่าตู้เย็น 2 ประตูที่มีขนาดเท่ากัน เนื่องจากต้องใช้ท่อน้ำยาเย็นยาวกว่า และใช้คอมเพรสเซอร์ขนาดใหญ่กว่า
เพื่อให้ประหยัดพลังงานของการใช้ตู้เย็น อย่าตั้งตู้เย็นใกล้แหล่งความร้อน ไม่นำอาหารที่ร้อนหรืออุ่นแช่ในตู้เย็น เพราะจะทำให้อุณหภูมิในตู้เย็นสูงขึ้นเครื่องจะทำงานมากขึ้น ตั้งอุณหภูมิในตู้เย็นที่ระดับความเย็นปานกลาง ตู้เย็นที่มีระบบละลายน้ำแข็งให้ละลายน้ำแข็งอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ตู้เย็นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปิดประตูตู้เย็นให้สนิททุกครั้งและหมั่นตรวจสอบขอบยางที่ประตูอย่างสม่ำเสมอถ้าปิดไม่สนิทความเย็นในตู้จะรั่วออกมาเครื่องจะทำงานมากขึ้น ไม่เปิด-ปิดประตูตู้เย็นบ่อยๆยิ่งเปิดปิดบ่อยครั้งถ้าไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนครั้ง เมื่อดึงปลั๊กตู้เย็นออกแล้วไม่ควรเสียบปลั๊กใหม่ทันทีเนื่องจากคอมเพรสเซอร์ต้องการเวลาพักก่อนที่จะเริ่มเดินเครื่องใหม่
การใช้งานเตาไมโครเวฟ
เตาไมโครเวฟกินไฟตั้งแต่ประมาณ 650 ถึง 1500 วัตต์ ควรอ่านคู่มือการใช้งานและปฏิบัติตามอย่างถูกต้องจะช่วยประหยัดไฟและรักษาเครื่องให้ใช้งานได้นาน ห้ามนำไข่ดิบหรือมะเขือเทศเข้าเตาไมโครเวฟ เพราะความร้อนจะดันให้เปลือกระเบิดแตกออกมา รอให้อาหารเย็นลงก่อนแล้วค่อยหยิบโดยใช้ถุงมือจับออกมา ห้ามใช้ภาชนะโลหะให้ใช้ภาชนะพลาสติกเฉพาะสำหรับเตาไมโครเวฟเท่านั้นซึ่งมักจะแถมมากับตอนซื้อ
เมื่อต้มน้ำด้วยไมโครเวฟอย่าใส่น้ำจนเต็มภาชนะเพื่อป้องกันการกระเด็นจากน้ำเดือดโดนมือหรือผนังเตา ในการปรุงอาหารควรดูคำแนะนำจากคู่มือการใช้งาน ควรตั้งเตาไมโครเวฟห่างจากผนังอย่างน้อย 7.5 เซนติเมตรและห่างจากเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่นๆเช่น ทีวี วิทยุ กาน้ำร้อน เพื่อป้องกันคลื่นจากไมโครเวฟรบกวนเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่นๆ
ควรทำความสะอาดทุกครั้งหลังการใช้งานและงานตรวจสอบตู้เศษอาหารที่ตกค้างในเตาอาจทำให้เกิดไฟลุกไหม้ได้
การเลือกใช้หลอดไฟ
หลอดไฟฟ้าที่ใช้กันอยู่แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ หลอดฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดนีออน และหลอดไส้ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบแล้วแม้ว่าหลอดนีออนจะมีราคาสูงกว่าหลอดไส้แต่หลอดนีออนจะให้แสงสว่างมากกว่าหลอดไส้ประมาณ 4 ถึง 5 เท่าโดยใช้ไฟเท่ากัน และมีอายุการใช้งานนานกว่าหลอดไส้ประมาณ 7 ถึง 8 เท่า การใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาด 40 วัตต์ 1 หลอดจะให้แสงสว่างเท่ากับการใช้หลอดไส้ขนาด 100 วัตต์ 2 หลอดแต่จะเสียค่าไฟสูงกว่าประมาณ 4 เท่า
นอกจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ทั่วไปแล้วยังมีหลอดไฟชนิดใหม่ที่เรียกว่าหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดตะเกียบ ซึ่งหมายถึงหลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาดเล็กที่ถูกพัฒนาให้ประหยัดพลังงานและมีอายุการใช้งานนานกว่าหลอดไส้ประมาณ 5 เท่าแต่ใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าหลอดไส้ประมาณ 4 เท่า และประหยัดค่าไฟได้ถึงร้อยละ 78
วิธีการประหยัดพลังงานเมื่อใช้หลอดไฟคือปิดสวิตช์ทันทีที่ไม่ใช้งานตรวจสอบทำความสะอาดหลอดไฟและโคมไฟอยู่เสมอปีละ 1 ครั้งเพราะฝุ่นละอองที่เกาะหลอดไฟและโคมไฟจะทำให้แสงสว่างลดน้อยลง พยายามใช้แสงจากธรรมชาติในเวลากลางวันให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการใช้ความสว่างที่เกินจำเป็นปิดไฟในส่วนที่แสงพอ และเลือกใช้หลอดไฟประหยัดพลังงานใช้หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดแอลอีดี